คปสอ.เมืองปาน

แหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน บ่อน้ำร้อนลือนาม สามต้นสักใหญ่ ไหว้พระธาตุดอยซาง
subglobal1 link | subglobal1 link | subglobal1 link | subglobal1 link | subglobal1 link | subglobal1 link | subglobal1 link
subglobal2 link | subglobal2 link | subglobal2 link | subglobal2 link | subglobal2 link | subglobal2 link | subglobal2 link
subglobal3 link | subglobal3 link | subglobal3 link | subglobal3 link | subglobal3 link | subglobal3 link | subglobal3 link
subglobal4 link | subglobal4 link | subglobal4 link | subglobal4 link | subglobal4 link | subglobal4 link | subglobal4 link
subglobal5 link | subglobal5 link | subglobal5 link | subglobal5 link | subglobal5 link | subglobal5 link | subglobal5 link
subglobal6 link | subglobal6 link | subglobal6 link | subglobal6 link | subglobal6 link | subglobal6 link | subglobal6 link
subglobal7 link | subglobal7 link | subglobal7 link | subglobal7 link | subglobal7 link | subglobal7 link | subglobal7 link
subglobal8 link | subglobal8 link | subglobal8 link | subglobal8 link | subglobal8 link | subglobal8 link | subglobal8 lin

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปาน

Muangpan Coordinating Committee on Public Health District Level

ประวัติความเป็นมาของ "สถานีอนามัย"

สถานีอนามัย เป็นสถานบริการสาธารณสุขระดับต้นของกระทรวงสาธารณสุข และเป็นหน่วยงาน อยู่ใต้บังคับบัญชาของสาธารณสุขอำเภอ โดยมีคณะกรรมการ ประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ. ) เป็นองค์กรประสานงาน และสนับสนุนการดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุขมีวิวัฒนาการดังนี้

พ.ศ. 2456

      มีการจัดตั้ง “โอสถสภา” ( โอสถศาลา หรือโอสถสถาน ) ขึ้นในบางจังหวัดให้เป็นทั้งสถานที่ บำบัดโรคและสำนักงานของแพทย์สาธารณสุข

พ.ศ. 2475

      ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น “สุขศาลา” ระหว่างที่ยังเป็น “สุขศาลา” อยู่นั้น ในท้องที่ที่เป็นชุมชน หนาแน่น ราชการส่งแพทย์ไปประจำเพื่อให้บริการแก่ประชาชน “สุขศาลา“ ประเภทนี้เรียกว่า เป็น “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ส่วน “สุขศาลาชั้นสอง” คือ สุขศาลาที่ไม่มีแพทย์ประจำ

  

พ.ศ. 2485

      มีการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์รับโอน “สุขศาลาชั้นหนึ่ง ” ที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดและอำเภอใหญ่ ๆ บางแห่งไปปรับปรุงเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาล อำเภอ บางส่วนเทศบาลรับไปดำเนินการ “ สุขศาลาชั้นหนึ่ง ” ที่มิได้โอนไปอยู่กับเทศบาลและ มิได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาล อยู่ภายใต้การดูแลของ กรมอนามัยซึ่งต่อมา “ สุขศาลา ชั้นหนึ่ง ” เหล่านี้พัฒนามาเป็น “ สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง ”

พ.ศ. 2497

      เป็น “ ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท ”

พ.ศ. 2515

      เป็น “ ศูนย์การแพทย์และอนามัย ”

พ.ศ. 2517

      เป็น “ โรงพยาบาลอำเภอ ” ( พ.ศ. 2518 ) จนถึงปัจจุบัน สำหรับ “ สุขศาลาชั้นสอง” ส่วนใหญ่อยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2495

      เป็น “ สถานีอนามัยชั้นสอง”

พ.ศ. 2515

      เป็น “ สถานีอนามัย ” มาถึงปัจจุบันสำหรับ ”สำนักงานผดุงครรภ์”คาดว่า เริ่มในปี พ.ศ. 2470

พ.ศ. 2470

      อบรมหมอตำแยครั้งแรก งวดละ 20 คน ระยะเวลาการอบรมงวดละ 3 สัปดาห์ เมื่อเสร็จการอบรมแล้ว ส่งกลับภูมิลำเนาเดิมให้ช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับการคลอด บุตรเพื่อลดอัตราการตายของทารกกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้น2 ในวชิระ - พยาบาล

พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2481

      มีปัญหาอุปสรรค หยุดการอบรม 4 ปี

พ.ศ. 2482     

        จึงได้มีการอบรมนักเรียนผดุงครรภ์ ชั้น 2 ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปอยู่ตามท้องที่ตำบลที่ยังไม่ มีการสร้างสถานีอนามัย โดยให้ไปตั้งเป็น“สำนักงานนางผดุงครรภ์ชั้นสอง“ ที่บ้าน กำนัน ต่อมามีการ สร้างสำนักงานผดุงครรภ์ขึ้นโดยแบ่งเป็น 2 แบบ
        แบบที่ 1 มีทุนผูกพันให้ผู้บริจาคทรัพย์สร้างสำนักงานผดุงครรภ์ส่งลูกหลานเข้าเรียน ผดุงครรภ์ได้ แล้วกลับไปประจำที่สำนักงานผดุงครรภ์นั้น  
         แบบที่ 2 เป็นแบบไม่มีทุนผูกพัน ใน พ.ศ. 2525 มีการยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ ทั้งหมดกว่า 1,400 แห่ง ขึ้นเป็นสถานีอนามัยทำให้มีจำนวนสถานีอนามัย เพิ่มขึ้นในปีดังกล่าว

ผังวิวัฒนาการสถานีอนามัยจากอดีตถึงปัจจุบัน

     สุขศาลาชั้น 1 สุขศาลาชั้น 2 ก่อน พ.ศ.2485 สถานีอนามัยชั้น 1 พ.ศ.2497 สถานีอนามัยชั้น 2 พ.ศ.2495 ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท พ.ศ.2515 สถานีอนามัย พ.ศ.2515 ศูนย์การแพทย์และอนามัย พ.ศ.2517 โรงพยาบาลอำเภอ พ.ศ.2518 โครงการ ทสอ. พ.ศ.2535

     ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายการพัฒนาสถานีอนามัย จึงได้จัดทำโครงการ “ทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย“ กำหนดระยะเวลาตั้งแต่ ปี 2535-2544 รวม 10 ปี โดยได้กำหนดสถานีอนามัยเป็น 2 ประเภทคือ สถานีอนามัยทั่วไป และสถานีอนามัยขนาดใหญ่

     สถานีอนามัยทั่วไป หมายถึง สถานีอนามัยส่วนใหญ่ของประเทศ มีบทบาท และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 4 งาน ได้แก่การบริการสาธารณสุขผสมผสาน การสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน และพัฒนาชุมชนบริหารงานวิชาการ งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ มีกรอบอัตรากำลัง และอาคารบ้านพักตลอดจนครุภัณฑ์ตามที่กำหนด

     สถานีอนามัยขนาดใหญ่หมายถึง สถานีอนามัยทั่วไปจำนวนหนึ่งซึ่งถูกคัดเลือกให้พัฒนาขึ้น เป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ ่ในโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย ซึ่งมีเป้าหมายจะพิจารณา สถานีอนามัยจำนวน ประมาณ 1 ใน 5 ของสถานีอนามัยทั่วประเทศ โดยคัดเลือกเลือกจาก สถานีอนามัยซึ่งมีที่ตั้งอยู่ศูนย์กลาง ของชุมชน ทั้งด้านการคมนาคมสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม อันจะทำให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้กว้างขวางกว่า สถานีอนามัย ทั่วไป สถานีอนามัยขนาดใหญ่ จะมีบทบาทหน้าที่เช่นเดียว กับสถานีอนามัยทั่วไป แต่จะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน บางอย่างสูงกว่า เช่น งานทันตกรรมพื้นฐาน ซึ่งยังไม่มีในสถานีอนามัยทั่วไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนพี่เลี้ยง สนับสนุนสถานีอนามัยทั่วไปที่กำหนดเป็น สถานีอนามัยลูกข่ายทั้งในด้าน การบริการรับส่งต่อผู้ป่วย การบริหารและวิชาการ

หมายเหตุ

             พ.ศ. 2523 มีการจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขชุมชนในหมู่บ้านพื้นที่เป้าหมายเฉพาะแห่ง ขึ้นกับสถานีอนามัยในตำบลนั้น ๆ